เมื่อวันที่ 19 มีนาคม กิจกรรม“สัปดาห์ล้านช้าง-แม่โขง” ประจำปี ค.ศ. 2025 และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของคณะทูตประจำประเทศจีนจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีนักการทูตจาก 15 ประเทศ จำนวน 24 คนเข้าร่วม เพื่อเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สัมผัสความเป็นเอกภาพของประชาชาติจีน ศึกษาประวัติการทำงานด้านกลุ่มชาติพันธุ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา และสัมผัสกับโครงการวัฒนธรรมของชนเผ่าต่าง ๆ
ในระหว่างกิจกรรมครั้งนี้ นางเดือนสิบ ปัทมะสุนทร คัลเลน อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง เน้นย้ำว่าประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงมีความผูกพันทางวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะด้านศิลปะ งานหัตถกรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี และเครื่องแต่งกาย เป็นต้น ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันมากมาย เธอกล่าวว่า แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเชื่อมโยงพวกเราเข้าด้วยกัน เสมือนเป็นครอบครัวใหญ่ กลไกความร่วมมือ LMC เป็นเวทีอันล้ำค่าสำหรับแต่ละประเทศในการแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่ดี
นาย Fazeel Najeeb เอกอัครราชทูตมัลดีฟส์ประจำจีนกล่าวว่า กิจกรรมเยี่ยมชมวันนี้ยอดเยี่ยมมาก ทำให้เราเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่ารัฐบาลจีนดำเนินการอย่างไรเพื่อให้กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งปวงมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นแนวทางที่ให้แรงบันดาลใจอย่างยิ่ง
นาย Mario Alzugaray รองหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตคิวบาประจำจีน กล่าวหลังจากเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สัมผัสฯ ว่า แม้ว่าชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล แต่รัฐบาลจีนก็ไม่เคยละเลยการยกระดับคุณภาพชีวิตของพวกเขา พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดถือประชาชนเป็นที่ตั้งมาโดยตลอด รวมกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 56 กลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายความเจริญรุ่งเรืองของประชาชาติจีนอีกครั้ง
นาย Nur Evi Rahmawati อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซีย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวว่า คำขวัญประจำชาติอินโดนีเซียคือ“เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย” ซึ่งแนวคิดนี้ได้สะท้อนเป็นอย่างดีในประเทศจีนเช่นกัน
นาย Claudiu Mihail Florian อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตรูมาเนีย ณ กรุงปักกิ่ง กล่าวว่า สัญลักษณ์ของประเทศเข้มแข็งคือการให้ความเคารพและได้รับความเคารพจากชนกลุ่มน้อย ซึ่งจีนถือเป็นแบบอย่างที่ดี เขากล่าวว่า กลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 56 ของจีนเป็นทรัพย์สมบัติอันล้ำค่า และการที่สามารถตระหนักถึงคุณค่านี้ถือเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดยิ่ง