ในปี ค.ศ. 2015 มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง (LMC) เป็นครั้งแรก ปีนี้ ความร่วมมือ LMC ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ในฐานะกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคที่ก่อตั้งขึ้นโดย 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง โดยมีเป้าหมายในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ด้วยความพยายามร่วมกันของ 6 ประเทศ ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ มีความก้าวหน้าอย่างแข็งแกร่ง จนกลายเป็น“เวทีทอง” แห่งความร่วมมือในภูมิภาค
6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขงมีการเชื่อมโยงทางภูมิประเทศและวัฒนธรรม มีประโยชน์และอนาคตร่วมกัน ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทั้ง 6 ประเทศให้ความสำคัญกับ 3 เสาหลักแห่งการพัฒนา ได้แก่ ความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืน สังคมและวัฒนธรรม โดยร่วมมือกันเสริมสร้างกลไกความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง และขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมผ่าน 5 สาขาหลัก ได้แก่ การเชื่อมโยงกัน โครงการความร่วมมือด้านกำลังการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน ทรัพยากรน้ำ เกษตรกรรม และการลดความยากจน
ภายใต้การนำอันแข็งแกร่งของผู้นำ 6 ประเทศ กลุ่มประเทศลุ่มน้ำยังคงรักษาการพัฒนาที่มั่นคงและส่งเสริมนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจทางการเมือง และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาภูมิภาคลุ่มน้ำให้เป็นเขตนำร่องแห่ง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เขตนำร่องของข้อริเริ่มด้านการพัฒนาระดับโลก ข้อริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก และข้อริเริ่มด้านอารยธรรมระดับโลก ความร่วมมือ LMC มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในทั้งเนื้อหาและประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือที่ลงลึกและบริบูรณ์มากยิ่งขึ้น
1. การสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม จีน-กัมพูชา จีน-ลาว จีน-เมียนมา จีน-ไทย และจีน-เวียดนาม ได้ประกาศสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันทั้งทวิภาคีและพหุภาคีที่ครอบคลุมประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ จีนและ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงยังมุ่งมั่นเสริมสร้างความร่วมมือทางทะเล ไซเบอร์ เป็นต้น ส่งผลให้ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงมีความครอบคลุมทุกมิติและทุกภาคส่วนมากขึ้น
2. การสร้างกลไกความร่วมมือ LMC สมบูรณ์แบบมากขึ้นเรื่อย ๆ กลไกความร่วมมือ LMC ใช้โมเดลความร่วมมือพหุภาคีระหว่างรัฐบาล โดยยึดมั่นในหลักการ“ผู้นำเป็นผู้ชี้นำ ครอบคลุมทุกมิติ มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน” พร้อมทั้งแสวงหาหนทางพัฒนากลไกใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการได้จริงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน กลไกการทำงานระดับรัฐมนตรีใน 6 สาขาหลักดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้มีการธำรงธรรมเนียมการจัดการประชุมระดับผู้นำทุก 2 ปี และจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นประจำทุกปี
ในด้านความมั่นคง ศูนย์ความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายล้านช้าง-แม่โขงแสดงบทบาทสำคัญในฐานะแพลตฟอร์มหลักของความร่วมมือด้านการบังคับใช้กฎหมายในภูมิภาค ขณะเดียวกัน โครงการ“ปฏิบัติการล้านช้าง-แม่โขงปลอดภัย” ซึ่งดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค นอกจากนี้ ความร่วมมือของทั้ง 6 ประเทศในการปราบปรามการพนันออนไลน์ การฉ้อโกงทางเครือข่ายโทรคมนาคม และอาชญากรรมข้ามพรมแดนอื่น ๆ ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
ภายใต้กรอบความร่วมมือ LMC แพลตฟอร์มต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับสนุนทางวิชาการและองค์ความรู้แก่ความร่วมมือ LMC อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ ศูนย์วิจัยแม่น้ำโขงสากล ศูนย์ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง ศูนย์ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมล้านช้าง-แม่โขง และศูนย์ความร่วมมือด้านการเกษตรล้านช้าง-แม่โขง เป็นต้น
3. ความร่วมมือที่ยึดมั่นในหลัก“เน้นการพัฒนาเป็นหลัก ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง ยึดโครงการเป็นหลัก” มีความสมบูรณ์แบบมากขึ้น โครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันได้สนับสนุนโครงการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนหลายร้อยโครงการ อาทิ โครงการ“การเก็บเกี่ยวอุดมสมบูรณ์ล้านช้าง-แม่โขง” กว่า 100 โครงการที่ดำเนินการในเมียนมาและประเทศอื่น ๆ ได้ช่วยให้เกษตรกรในท้องถิ่นเพิ่มผลผลิตและรายได้ ซึ่งเพิ่มพูนความพึงพอใจของประชาชนเป็นอย่างมาก โครงการ“น้ำดื่มสะอาดล้านช้าง-แม่โขง” ระยะที่หนึ่งได้ก่อสร้างจุดสาธิตระบบประปาแบบรวมศูนย์ 8-9 แห่ง และจุดสาธิตระบบประปาแบบกระจาย 54 แห่ง สร้างประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่า 10,000 คน นำมาซึ่งผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมแก่ประเทศลุ่มน้ำโขง
4. การเชื่อมโยงในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงได้รับการยกระดับอย่างโดดเด่น การเชื่อมโยงทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและกฎระเบียบได้รับการพัฒนาไปพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ รถไฟจีน-ลาวและทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ดำเนินงานอย่างมั่นคง โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย และการเชื่อมโยงทางรถไฟจีน-เวียดนามก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ พลังขับเคลื่อนของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงก็ทวีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการค้าระหว่างจีนและ 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากที่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้ ได้ส่งเสริมการลดภาษี การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร และการเพิ่มโอกาสด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ เป็นต้น ส่งผลให้ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาคมีความมั่นคงและคล่องตัวยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพของระบบขนส่งหลายรูปแบบ ทั้งทางราง-ทางทะเล และทางถนน-ทางราง ภายใต้ระเบียงการค้าทางบก-ทางทะเลระหว่างประเทศใหม่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้มีส่วนร่วมในความร่วมมือ LMC มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรสังคม ต่างให้ความสนใจและเข้ามามีบทบาทในความร่วมมือมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ความร่วมมือ LMC ก้าวหน้าทั่วถึงและลึกซึ้งยิ่งขึ้น
5. ความเข้าใจร่วมกันระหว่างประชาชนลงลึกมากขึ้น การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นขึ้นอยู่กับความสนิทสนมของประชาชน ความสนิทสนมของประชาชนขึ้นอยู่กับความเข้าใจซึ่งกันและกัน ในฐานะหนึ่งในสามเสาหลักของความร่วมมือ LMC การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจึงเป็นหัวข้อสำคัญของความร่วมมือ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงได้กระชับความร่วมมือด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กีฬา การศึกษา สื่อมวลชน ศาสนา และชาติพันธุ์ นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งแบรนด์เรือธงด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมหลายหลาย เช่น การแข่งขันออกแบบโครงการเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดการพื้นที่ลุ่มล้านช้าง-แม่โขง และสัปดาห์ภาพยนตร์นานาชาติล้านช้าง-แม่โขง ตลอดจนร่วมกันส่งเสริมวัฒนธรรมล้านช้าง-แม่โขงที่ยึดถือ“ปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียมกัน ช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ และผูกพันกันเหมือนพี่น้อง” ซึ่งช่วยส่งเสริมมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สิบปีแห่งการเพาะปลูก เปลี่ยนผืนแผ่นดินให้เขียวขจี วันนี้รวงข้าวเหลืองอร่ามเติมเต็มยุ้งฉาง จากภาพลายเส้นอิสระสู่ภาพลายเส้นประณีต ความร่วมมือ LMC ได้ผ่านช่วงบ่มเพาะและช่วงเติบโต จนก้าวสู่ยุคใหม่ของ“ความร่วมมือ LMC 2.0” ปัจจุบัน ภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขงกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วทางเศรษฐกิจและสังคม การขับเคลื่อนสู่ความทันสมัยถือเป็นภารกิจทางประวัติศาสตร์ร่วมกันของทุกประเทศในภูมิภาค
มองไปข้างหน้า ประเทศลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขงจะยังคงเชิดชูเจตนารมณ์แห่งความร่วมมือ โดยยึดมั่นในหลัก“เน้นการพัฒนาเป็นหลัก เจรจากันอย่างเสมอภาค ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและจริงจัง เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่างหลากหลาย” ร่วมกันขยายความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ เศรษฐกิจสีเขียว เป็นต้นประสานงานความร่วมมือ LMC กับกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคอื่น ๆ ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เสริมสร้างความสอดคล้องกับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนปี 2030 และผลักดันให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางใหม่ของความร่วมมือใต้-ใต้ ทั้ง 6 ประเทศยินดีที่จะยึดมั่นในแนวคิดภูมิภาคนิยมแบบเปิด ยึดมั่นในหลักพหุภาคีที่แท้จริง เสริมสร้างกลไกความร่วมมือ LMC ให้แข็งแกร่งขึ้น เสริมสร้างรากฐานแห่งมิตรภาพระหว่างประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 6 ประเทศให้มากขึ้น ร่วมมือกันสร้างเสถียรภาพให้แก่ภูมิภาค เพื่อสร้างคุณูปการในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างสันติของภูมิภาคผ่าน“ความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง”
ผู้เขียน: เป้า จื่อเผิง รองเลขาธิการศูนย์วิจัยแม่น้ำโขงสากลในจีน (GCMS)