เมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา ฟอรั่มการสื่อสารระหว่างประเทศว่าด้วยช้าง ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งเป็น"ถิ่นที่อยู่" ของช้างเอเชีย การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในธีม"ร่วมมือกันเพื่อสร้างอนาคตและการสำรวจเส้นทางใหม่สำหรับการสื่อสารระหว่างประเทศ" งานดังกล่าวได้ดึงดูดนักวิชาการ ข้าราชการ และตัวแทนสื่อมากกว่า 200 รายจาก 21 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลกเข้าร่วม
ในเดือนมีนาคม 2020 ช้างป่าเอเชียกลุ่มหนึ่งออกเดินทางจากแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน และอพยพขึ้นเหนือไปยังนครคุนหมิง ในที่สุดโขลงช้างก็กลับมาทางใต้ได้อย่างราบรื่นในเดือนกันยายน 2021 แล้วกลับสู่เขตอนุรักษ์ธรรมชาติแห่งชาติสิบสองปันนา ทั้งนี้ การเดินทางของโขลงช้างดังกล่าวใช้เวลานาน 17 เดือน รวมระยะทางประมาณ 1,300 กิโลเมตร และเพื่อเป็นการคุ้มครองช้างป่าผู้คนจำนวนนับไม่ถ้วนทุ่มเทเวลาทั้งกลางวันและกลางคืนเพื่อปกป้องฝูงช้าง เหตุการณ์นี้ดึงดูดความสนใจของสื่อทั่วโลก และกลายเป็นหน้าต่างสำคัญสำหรับประชาคมระหว่างประเทศในการทำความเข้าใจการพัฒนาความทันสมัยของจีนและการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพของมณฑลยูนนาน
ดร.จารุวรรณ อุดมทรัพย์ ชาวไทย ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา เธอได้บันทึกเรื่องราวที่น่าสนใจในสิบสองปันนานับครั้งไม่ถ้วน“ช้างที่นี่ก็เหมือนกับช้างในประเทศไทย ล้วนเป็นช้างป่าเอเชีย ทุกท่านไม่ต้องห่วงนะคะ พวกมันได้รับการดูแลอย่างดี!” เธอกล่าวในพิธีเปิดฟอรั่มการสื่อสารระหว่างประเทศว่าด้วยช้าง ครั้งที่ 3
“การเดินทางครั้งนี้เป็นครั้งแรกของฉันที่ได้มาเยือนยูนนาน ตอนแรกฉันรู้สึกกังวลเล็กน้อยว่าจะสื่อสารกับคนทั่วโลกได้ยาก เนื่องจากความแตกต่างด้านพรมแดนและภาษา แต่ฉันรู้สึกประหลาดใจที่พบว่าสื่อต่าง ๆ ที่ฉันให้ความสนใจก็มาร่วมการประชุมด้วย มันทำให้ฉันรู้สึกอบอุ่น" NGUYEN THI MINH HA ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศของสถานีโทรทัศน์เวียดนามกล่าวว่า ในระหว่างการประชุมฯ นอกจากเธอจะได้เรียนรู้เทคนิคและการทำงานอย่างสร้างสรรค์และความล้ำสมัยของสื่อจีนแล้ว เธอยังตระหนักได้ว่าการประชุมครั้งนี้นอกจากสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลในวงการสื่อแล้ว ยังเป็นเวทีสำคัญในการหลอมรวมภูมิปัญญาและการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างอารยธรรม