ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมชลศาสตร์ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงสำรวจผลสัมฤทธิ์แห่งความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ

lmcchina.org, August 2, 2024
Size:

วันที่ 15 ถึง 20 กรกฎาคม กิจกรรมการสำรวจต้นกำเนิดแม่น้ำล้านช้างร่วมกันของ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงจัดขึ้นที่มณฑลชิงไห่ Cheng Dongsheng ผู้อำนวยการฝ่ายข้อมูลการอบรมของศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงกล่าวว่า“การสำรวจครั้งนี้มุ่งที่จะช่วยให้ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงเข้าใจการพัฒนาและการอนุรักษ์ระบบนิเวศตามริมฝั่งแม่น้ำล้านช้างของจีนได้ดีขึ้น เพราะอย่างไรก็ตาม เห็นแล้วจึงจะเชื่อ”

Cheng Dongsheng กล่าวว่า“ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด บ่อยครั้งที่ถูกคุกคามจากภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตความเป็นอยู่และการพัฒนาเศรษฐกิจของประชาชนท้องถิ่น ดังนั้นการดำเนินความร่วมมือด้านการป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้งทั่วลุ่มแม่น้ำจึงมีความสำคัญสูง”

ทว่า เนื่องด้วยผลกระทบจากรายงานของสื่อมวลชนตะวันตกเกี่ยวกับกิจกรรมในลุ่มแม่น้ำล้านช้างของจีน ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงจึงยังมีความเข้าใจผิดบางประการ บางรายงานอ้างว่า เขื่อนที่จีนสร้างขึ้นมานั้นส่งผลกระทบต่อการขนส่งและคุณภาพของน้ำ จนก่อให้เกิดภัยแล้ง แท้ที่จริงแล้ว สถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำบนแม่น้ำล้านช้างนั้นไม่ใช้น้ำเลย แต่ควบคุมการไหลของแม่น้ำอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ต่างหาก Cheng Dongsheng อธิบายว่า การกักเก็บน้ำของสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำเหล่านี้มีจุดประสงค์ที่จะลดการไหลในช่วงน้ำท่วม และเพิ่มการไหลในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมาตรการควบคุมนี้ได้ยกระดับน้ำในแม่น้ำโขงในช่วงฤดูแล้ง และบรรเทาความกดดันในการป้องกันน้ำท่วมในช่วงน้ำท่วม สร้างคุณประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในท้องถิ่น

“ตัวอย่างเช่น โดยธรรมชาติแล้ว การไหลในตอนปลายน้ำในฤดูแล้งอาจมีเพียง 300-400 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ด้วยการควบคุมของสิ่งอำนวยความสะดวกทางชลประทาน การไหลจะเพิ่มสูงถึง 1,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที”

ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงได้ประสบความสำเร็จอันน่าทึ่งในด้านการป้องกันน้ำท่วมและภัยแล้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา รัฐบาลจีนได้ช่วยประเทศลุ่มน้ำโขงดำเนินโครงการสาธิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั้งหมด 50 กว่าโครงการ ครอบคลุมถึงความปลอดภัยด้านการจัดหาน้ำในชนบท การจัดการลุ่มแม่น้ำขนาดย่อย การติดตามความปลอดภัยของเขื่อน การอบรมบุคลากร เป็นต้น โครงการเหล่านี้นำมาซึ่งคุณประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมให้กับประชาชนท้องถิ่น ในที่นี้“แผนปฏิบัติการบ่อน้ำดีแห่ง LMC” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน ได้สร้างสถานที่สาธิตความปลอดภัยด้านน้ำประปาในชนบททั้งหมด 60 กว่าแห่งในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง และจัดหาน้ำดื่มที่ปลอดภัยให้กับประชาชนท้องถิ่นทั้งหมด 10,000 กว่าคน

ความร่วมมือด้านไฟฟ้าพลังงานน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงยังช่วยทวีความผาสุกของประชาชนด้วย Cheng Dongsheng กล่าวว่า“การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงต้องการพลังงานมหาศาล ลาว เมียนมาร์ กัมพูชา เป็นต้น ต่างก็มีปัญหาการขาดแคลนพลังงานในระดับหนึ่ง การพัฒนาไฟฟ้าพลังงานน้ำสามารถบรรเทาปัญหาการขาดแคลนเหล่านี้ได้อย่างมาก”

Cheng Dongsheng เน้นว่า การสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาทรัพยากรน้ำและการอนุรักษ์ระบบนิเวศมีความสำคัญอย่างยิ่ง มณฑลชิงไห่เป็นที่ตั้งของภูมิภาคซานเจียงหยวน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแยงซี แม่น้ำเหลือง และแม่น้ำล้านช้าง นับตั้งแต่ก่อตั้งอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวนในค.ศ. 2021 ได้ฟื้นฟูทุ่งหญ้าที่เสื่อมโทรมจำนวน 195,000,0 เอเคอร์ พื้นที่ที่กลายสภาพเป็นทะเลทราย 110,000 แสนเอเคอร์ จำนวนละมั่งทิเบตเพิ่มขึ้นจากน้อยกว่า 20,000 ตัวเป็น 70,000 กว่าตัว

นอกจากนี้ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงกำลังสร้างแพลตฟอร์มการแบ่งปันข้อมูลความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงร่วมกัน ตั้งแต่ค.ศ. 2002 เป็นต้นมา กระทรวงชลประทานจีนแบ่งปันข้อมูลทางอุทกวิทยาในช่วงน้ำท่วมของลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงแก่สำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอย่างเป็นประจำ และแบ่งปันข้อมูลอุทกวิทยาประจำปีตั้งแต่พฤศจิกายน ค.ศ. 2020