ผู้เชี่ยวชาญระบุ : โรงไฟฟ้าพลังน้ำของจีนช่วยควบคุมการระบายน้ำของแม่น้ำโขงในช่วงที่สภาพอากาศเลวร้ายได้

lmcchina.org, March 20, 2024
Size:

ผู้เชี่ยวชาญเน้นย้ำ สถานีไฟฟ้าพลังน้ำของจีนช่วยควบคุมการระบายน้ำในแม่น้ำโขง โดยให้ความช่วยเหลือที่แก่ประเทศปลายน้ำที่มีความจำเป็นมากในยามต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่เลวร้าย

 “สถานีไฟฟ้าพลังน้ำของจีน บทบาทในการระบายน้ำในช่วงหน้าแล้งและช่วงน้ำมากได้” นายหลู กวงเซิ่ง คณบดีคณะวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยยูนนาน กล่าว

 ศาสตราจารย์ เถียน ฟู่เฉียง อาจารย์ภาควิชาชลประทานและวิศวกรรมไฟฟ้าพลังน้ำ มหาวิทยาลัยชิงหัว ชี้ให้เห็นว่า ทรัพยากรน้ำที่ออกจากแม่น้ำล้านช้างของจีน คิดเป็นเพียง 13.5% ของปริมาณน้ำลงทะเลของแม่น้ำโขง ซึ่งหมายความว่า โครงการไฟฟ้าพลังน้ำของจีน มีผลกระทบอย่างจำกัดต่อ ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

 เถียน ฟู่เฉียง อธิบายว่า“โครงการไฟฟ้าพลังน้ำไม่ได้ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างสิ้นเปลือง แต่เป็นการใช้พลังงานน้ำ และสามารถควบคุมการไหลตามธรรมชาติได้” เขาเสริมด้วยว่า การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำล้านช้างของจีนนั้นมีไว้เพื่อพลังงานน้ำเป็นหลัก ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสะอาด นอกจากนี้ เขายังสังเกตเห็นว่ายังมีอ่างเก็บน้ำและสถานีไฟฟ้าพลังน้ำในแม่น้ำสายหลักในประเทศลาว

 จากผลการวิจัยร่วมโดยคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรน้ำล้านช้าง-แม่โขง สถาบันวิจัยชลประทานและไฟฟ้าพลังน้ำของจีน และสถาบันบริหารจัดการน้ำระหว่างประเทศพบว่า สถานีไฟฟ้าพลังน้ำล้านช้างประเภทการปล่อยน้ำจากที่สูงเพื่อเกิดพลังงานจลน์ มีผลกระทบเชิงบวกต่อการไหลและการรักษาระดับน้ำของแม่น้ำโขงสายหลักในช่วงฤดูแล้ง

 ข้อมูลจากรายงานแสดงให้เห็นว่า เนื่องจากมีการสร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำตกล้านช้าง ปริมาณน้ำและระดับน้ำต่อเดือนของสถานีเชียงแสนในช่วงฤดูแล้งปี 2012-2013 จึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยหลายปี


 การกระจายตัวของปริมาณน้ำฝนรายเดือนในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง [ที่มา: คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง]

 ในปี 2019  ลุ่มแม่น้ำล้านช้างแม่น้ำโขงประสบภัยแล้งอย่างหนัก และทำให้การไหลของน้ำลดลงอย่างมาก ขณะเดียวกันมณฑลยูนนานในลุ่มแม่น้ำล้านช้างก็ประสบปัญหาภัยแล้งตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเช่นกัน สภาพภูมิอากาศที่รุนแรงส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการผลิตและชีวิตในลุ่มน้ำทั้งหมด

 สถาบันการวางแผนและออกแบบด้านไฟฟ้าพลังน้ำและชลประทานจีนประกาศรายงานเมื่อปี 2022 ว่า   สาเหตุหลักของความแห้งแล้งรุนแรงคือช่วงมีช่วงฝนตกสั้นลง ฝนมรสุมลดลง และปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้อุณหภูมิสูงผิดปกติและมีการระเหยที่รุนแรง.

 แม้ว่าปริมาณน้ำฝนตามธรรมชาติจะลดลง  แต่ในช่วงฤดูแล้งปี 2019 โรงไฟฟ้าหลักประเภทการปล่อยน้ำจากที่สูง 2 แห่งของแม่น้ำล้านช้าง ได้แก่ สถานีไฟฟ้าพลังน้ำโน่เจียตู้ และ เสี่ยววาน ไม่เพียงปล่อยน้ำที่ไหลผ่านในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ยังปล่อยปริมาณน้ำที่เก็บไว้ก่อนหน้านี้ในอ่างเก็บน้ำ  เพื่อเพิ่มน้ำในปลายน้ำ

 ข้อมูลที่ระบุในรายงานแสดงให้เห็นอีกว่า ปี 2019 อ่างเก็บน้ำจีนใช้น้ำเก็บเพื่อระบายน้ำสู่ปลายน้ำมากถึง 17,000 ล้านลูกบาศก์เมตรในช่วงฤดูแล้ง คิดเป็น 14.7% ของปริมาณน้ำไหลเฉลี่ยหลายปีของสถานีเชียงแสนต่อปี สถานีอุทกวิทยาเชียงแสนเป็นสถานีอุทกวิทยาแห่งแรกที่มีแม่น้ำล้านช้างไหลเข้าสู่คาบสมุทรอินโดจีน

 เมื่อปี 2023 นายหลี่ กั๋วอิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงชลประทานจีนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งที่ 4  และกล่าวสุนทรพจน์ในการประชุม เขากล่าวว่า จีนบริหารสถานีไฟฟ้าพลังน้ำแบบน้ำตกในแม่น้ำล้านช้างตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้แสดงบทบาทการป้องกันและลดภัยพิบัติอย่างเต็มที่แบบ" เก็บน้ำในช่วงมีน้ำ เพื่อชดเชยช่วงแห้งแล้ง" ช่วยให้ประเทศลุ่มน้ำโขงรับมือกับภัยแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายไม่มีภัยพิบัติใหญ่ในปีภัยแล้งหนัก

 เพื่อให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในลุ่มน้ำล้านช้าง-แม่โขง นายหลู กวงเซิ่ง เสนอว่า เพิ่มการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใส ตัวอย่างเช่น จีนได้ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญา และเปิดตัวแพลตฟอร์มแบ่งปันข้อมูลความร่วมมือด้านน้ำล้านช้าง-แม่โขงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2020 นายหลู กวงเซิ่ง ยังกล่าวด้วยว่า การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้มากขึ้นและใช้โมเดลเต็มที่ภายใต้กลไกความร่วมมือล้านช้าง-แม่โขง ถือเป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน เพราะการนี้จะช่วยให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูลที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความแม่นยำและประสิทธิภาพของการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง