ฟอรั่มเอ๋อร์ไห่ ร่วมแบ่งปันอนาคตที่สดใสให้กับโลก

Yunnan Gateway, June 14, 2023
Size:

ระหว่างวันที่ 27 ถึง 29 พฤษภาคม ฟอรั่มการส่งเสริมการพัฒนาอารยธรรมทางนิเวศวิทยาทั่วโลก 2566 (ฟอรั่มเอ๋อร์ไห่) จัดขึ้นที่แคว้นปกครองตนเองชนชาติไป๋ ต้าหลี่ มณฑลยูนนาน

นับตั้งแต่จัดฟอรั่มเอ๋อร์ไห่ครั้งแรกในปี2564 เป็นต้นมา ฟอรั่มเอ๋อร์ไห่ได้กลายเป็นเวทีที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาอารยธรรมทางนิเวศวิทยาทั่วโลกและส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับโลก และในปีนี้ ฟอรั่มเอ๋อร์ไห่ได้เปิดตัวข้อริเริ่มเอ๋อร์ไห่“การสํารวจรูปแบบใหม่ของอารยธรรมมนุษย์และส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ” ขึ้นมา

หลี่ จูนหัว รองเลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวว่า จีนได้ยึดถือการดําเนินการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นยุทธศาสตร์ของชาติ และได้เสนอข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ข้อริเริ่มการพัฒนาระดับโลก รวมถึงข้อริเริ่มอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าระดับโลกและระดับภูมิภาคในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sugath Rathnayake ชาวศรีลังกา อาจารย์ต่างประเทศของมหาวิทยาลัยยูนนาน รู้สึกซาบซึ้งกับสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างมาก เขากล่าวว่า จีนได้ช่วยเหลือประเทศกําลังพัฒนาอย่างแข็งขันในการปฏิบัติตามแนวคิดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การเสริมสร้างความเข้าใจของประเทศต่าง ๆ ตามแนว“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เกี่ยวกับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการกระชับความร่วมมือระดับโลกเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย

ปีนี้เป็นปีครบรอบ 10 ปีของข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จีนได้สร้างความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับทุกฝ่ายอย่างแข็งขัน และผลักดันให้ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเนื้อหาสำคัญในข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

U Win Tin บรรณาธิการบริหารนิตยสารรายสัปดาห์โพลาริสของพม่า กล่าวว่า จีนได้ปลูกต้นไม้ตามสองฝั่งถนนในเมืองต่าง ๆ และได้ออกแบบการสร้างถนนและทางรถไฟไม่ให้กระทบต่อสภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา สิ่งเหล่านี้ทําให้เขาเชื่อว่าจีนมีความสามารถในการส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ

หลี หยงหง รองผู้อํานวยการศูนย์ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศของกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ทางศูนย์ได้ดําเนินการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระดับภูมิภาคระหว่างจีน - อาเซียน ล้านช้าง - แม่โขง และจีน - แอฟริกา ซึ่งมีความคืบหน้าใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง