บทความพิเศษ : เนื่องในโอกาส สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 1-6 พฤษภาคม 2023 นี้

CRI, June 8, 2023
Size:

ในฐานะเป็นองค์อุปถัมภ์ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไทย-จีน อันสร้างคุณูปการแก่ทั้งสองประเทศ โอกาสนี้ ทาง China Media Group ( CMG ) ภาคภาษาไทย ได้สัมภาษณ์พิเศษ ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และอดีตปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( กระทรวง อว.ในปัจจุบัน ) และขออนุญาตนำบทความที่น่าสนใจจากการสัมภาษณ์ครั้งนี้มาเผยแพร่

ผู้สื่อข่าวถามว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงอุปถัมภ์ความสัมพันธ์ไทย-จีนมาตลอดกว่า 4 ทศวรรษที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นคือโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ได้เล่าตัวอย่างโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ไทย-จีน ที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์ ตามพระราชดำริฯ นับตั้งแต่ค.ศ. 2007 จนปัจจุบัน มีสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัยของแคส ( CAS: Chinese Academy of Sciences ) 14 แห่งลงนามความร่วมมือ ( MoU ) กับสถาบันวิจัย / มหาวิทยาลัยไทย 12 แห่ง มีทั้งการพัฒนากำลังคนและความร่วมมือกันทำวิจัยและพัฒนาด้านวัตกรรมดังปรากฏในรูปที่1ตัวอย่างที่สำคัญ ได้แก่

(1) โครงการ Jiangmen Underground Neutrino Observatory สถานีตรวจวัดนิวทริโนใต้ดินตั้งอยู่ที่เมืองไคผิง ( Kaiping ) เขตเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน วัตถุประสงค์สำคัญเพื่อตรวจวัดลำดับมวลทางควอนตัมของอนุภาคนิวทริโนที่ผลิตออกมาจากโรงไฟฟ้าปรมาณู 2 แห่ง คือ หยางเจียง ( Yangjiang ) และ ไทชาน ( Taishan )

ประเทศไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการไทย-จูโนประกอบด้วยมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ และนักวิจัยจาก 3สถาบันและคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) หรือ NARIT โดยมีความร่วมมือที่สำคัญคือการออกแบบ และสร้างระบบขดลวดลดทอนสนามแม่เหล็กโลก ( Earth Magnetic Field (EMF) Shielding ) ที่รบกวนการทำงานของหน่วยตรวจวัดนิวทริโน ได้ส่งนักวิจัย นักศึกษาไปทำงานกับจูโนที่จีน ประเทศไทยได้สนับสนุนเงินจำนวน15 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างติดตั้งและพระองค์ท่านได้เสด็จ ฯ เยี่ยมในวันที่ 3 มิถุนายน 2023 ตอนเริ่มโครงการนี้นั้น ได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างสถาบันฟิสิกส์-พลังงานสูง ( IHEP ) ของแคส กับ มทส., จุฬาฯ และ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ สดร. ( NARIT ) มีมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศคามพระราชดำริฯ เป็นพยานเมื่อ 7 เมษายน 2560 ณ สถาบันฟิสิกส์พลังงานสูง กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน 

ภาพโครงการJUNO: เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรหน่วยทวีคูณแสง ( photomultiplier tube) ณ Institute of Higher Energy Physics: IHEP ของCAS กรุงปักกิ่ง ศาสตราจารย์ Wang Yifang (คนที่2จากซ้าย), IHEP Director ถวายคำอธิบาย และมีศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงษ์ ( คนที่3จากซ้าย ) เลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารนเทศตามพระราชดำริฯ และศาสตราจารย์บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (คนซ้ายสุด) อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมฟังด้วย ภาพจาก:http://juno.ihep.cas.cn/PPjuno/201704/t20170418_176138.html 

(2) โครงการวิจัยขั้วโลก ( อาร์กติกและแอนตาร์กติก ) ความเดิมมีว่าพระองค์ท่านได้เคยเสด็จฯ เยือนทวีปแอนตาร์กติก เมื่อพฤศจิกายน พ.ศ. 2536 จึงทรงเป็นคนไทยคนแรกที่เดินทางไปยังทวีปแอนตาร์กติก และทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ“แอนตาร์กติกา: หนาวหน้าร้อน” เป็นบันทึกการเดินทางครั้งนั้น ต่อมาทรงมีพระราชดำริว่าควรส่งนักวิจัย ไทยไปอาร์ติกและแอนตาร์กติกโดยการร่วมมือกับจีน ตั้งแต่ค.ศ.2014 - 2019ทุกปีได้มีนักวิจัยไทยเดินทางไปยังแอนตาร์กติกเพื่อทำวิจัยที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์ สถานีวิจัยจงซาน และบนเรือซือหลง ( Xuelong ) รวม 10 คน

แล้วในคณะเดินทางสำรวจของจีนชื่อ Chinese National Antarctic Research Expedition ชื่อย่อ CHINARE แต่ต้องหยุดไปชั่วคราวเพราะการระบาดของ Covid- 19 และคาดจะเริ่มต้นใหม่ในปี 2023 นี้ งานวิจัยก็มีด้าน Marine biology, Microbiology, Pollution, Oceanography, Geology และ Geodesy  นักวิจัยไทยมาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิยาลัยบูรพาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยจปร. และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน )

นอกจากนี้เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562 รัฐบาลจีนได้ทูลเกล้าฯ ถวายพื้นที่ที่สถานีวิจัยเกรทวอลล์เพื่อให้นักวิจัยของไทยที่ไปสำรวจขั้วโลกใต้ ได้ใช้ในการปฏิบัติการวิจัยห้องดังกล่าวชื่อ“China-Thailand HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Antarctic Joint Laboratory” ภาษาจีน  ชื่อ“中泰诗琳通公主南极联合实验“หน่วยงานของจีนที่ทำงานร่วมกับไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก ( อาร์กติกและแอนตาร์กติก ) คือ สำนักงานบริหารอาร์กติกและแอนตาร์กติกแห่งสาธารณรัฐประชาจีน ( Chinese Arctic and Antarctic Administration: CAA ) และสถาบันขั้ว-โลกแห่งจีน ( PRIC: Polar Research Institute of China )

ภาพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ประทับบนเรือตัดน้ำแข็ง“เสวี่ยหลง” ของสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งประเทศจีน นครเซี่ยงไฮ้ เมื่อเดือนเมษายน 2556

ที่มา: https://www.princess-it.org/en/mou-inter-en/polar-research-en/main-project-polar-en/about-polar-research-en.html

(3) โครงการ นักเรียนทุนรัฐบาลไทยไปศึกษา UCAS ระดับปริญญาโทและเอก ( ส่วนใหญ่ปริญญาเอก ) ตั้งแต่ปี 2552-2565 รับทุนทั้งสิ้น 44 คน สำเร็จการศึกษาโท/เอกกลับมารับราชการ 19 คน และ กำลังศึกษา 22 คน

(4) นักเรียนทุนปี 2565 เตรียมตัวสมัครเรียนภาษาจีน 3 คน ตัวอย่างสาขาวิชา ได้แก่ microbiology, remote sensing, material and material engineering, management science and data mining,  operation research and control engineering, robot and automation, computer sciences, nanotechnology, accelerator physics and synchrotron technology  โดยผู้ที่สำเร็จการศึกษากลับมารับราชการในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยกรมกองต่างๆ ของรัฐบาล ปัจจุบันก็ยังมีการคัดเลือกส่งนักเรียนทุนทุกปีส่งไปยัง UCAS

นอกจากนี้ยังมีทุนระดับปรัญญาโททีจากมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง ( AnJiaotong University: XJTU ) สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทูลเกล้าฯถวายปีละ 3 ทุนใน 9 สาขา เช่น Mechanical Engineering, Power Engineering and Engineering Thermophysics, Electronic Science and Technology, Information and Communication Engineering, Management Science and Engineering

ตั้งแต่ปี 2554-65 มีนักศึกษา 12 รุ่น รวม 30 คน สำเร็จการศึกษา 23 คน อยู่ระหว่างศึกษา 6 คน ลาออก 1 คนผู้สำเร็จการศึกษาแล้วทำงานบริษัทเอกชน ภาครัฐ มหาวิทยาลัยและศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ปัจจุบันยังคัดเลือกส่งไปทุกปี

ภาพ: ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้สัมภาษณ์กับ China Media Group ( CMG )

ภาพ: ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้สัมภาษณ์กับ China Media Group ( CMG )

ผู้สื่อข่าวถามถึงต้นปีที่แล้ว พระองค์ทรงเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของประเทศไทยกับหน่วย งานของสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก โครงการนี้ช่วยไทยได้ศึกษาวิจัยด้านขั้วโลก และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างไร

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์  ระบุว่า โครงการความ-ร่วมมือไทย-จีน ตามพระราชดำริฯ นับตั้งแต่ค.ศ. 2007 จนปัจจุบันนั้นได้มีการลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของจีนและไทยหลายหน่วยงานแล้ว  เมื่อกลางปีที่แล้ว วันที่ 19 สิงหาคม 2565 ณ วังสระปทุมพระองค์ท่านประทับเป็นประธาน ในการลงนามต่ออายุ MoU บางโครงการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ( ออนไลน์ ) มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริฯ เป็นผู้ประสานงาน ดังนี้

เรื่องที่ 1 โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์ขั้วโลก ( โครงการวิจัยขั้วโลกอาร์กติกและแอนตาร์กติก )

ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นในข้อ1  ฝ่ายจีนมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติจีน ( H.E. Wang Guanghua ) เข้าร่วมในพิธีและถวายรายงานด้วย มีผู้ลงนามได้แก่ผู้บริหารสถาบันวิจัยขั้วโลกแห่งจีน ( PRIC ) และผู้บริหารหน่วยงานไทย 5 แห่ง ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ( องค์การมหาชน ) หรือ NARIT

เรื่องที่ 2 โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฝ่ายจีนมี

อธิการบดี (Professor Li Shu-Shen)มหาวิทยาลัยแห่งสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (UCAS: University of Chinese Academy of Sciences) เข้าร่วมในพิธีและถวายรายงานด้วย ผู้ลงนามฝ่ายจีนได้แก่ รองอธิการบดี ( Dr. Wu Jun ) ของ UCAS ฝ่ายไทยได้แก่เลขาธิการ ก.พ. ( ดร.ปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ )

การลงนามนี้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินการดังกล่าวไว้ในข้อ 1 ให้ต่อเนื่องก้าวหน้าต่อไปอย่างดียิ่งที่อยากกล่าวไว้ด้วยว่าในการร่วมทำวิจัยนั้น เช่น JUNO และขั้วโลก รวมทั้งโครงการความร่วมมือไทย-จีน อื่น ๆ มีนักศึกษาระดับโทและเอกของมหาวิทยาลัยไทยหลายแห่งเข้าร่วมโครงการด้วยจนจบปริญญาโทและเอกของมหาวิทยาลัยไทยด้วย

ผู้สื่อข่าวถาม:ด้านโครงการดาราศาสตร์ พระองค์ทรงอุปถัมภ์ โครงการทางดาราศาสตร์ ไทย-จีน อย่างไร

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ให้ข้อมูลว่า มีโครงการดังนี้ คือ 1.โครงการวิจัย: Observations and investigations of special binary stars observed by TESS ( พ.ศ.2564 – 2566 ) การศึกษาวิจัย ติดตามสังเกตการณ์ดาวคู่อุปราคาจากฐานข้อมูล TESS ( Transiting Exoplanet Survey Satellite )เป็นความร่วมมือกับYunnan Observatories, CAS ซึ่งมี Prof. Sheng-Bang Qian ฝ่ายจีน และดร.บุญรักษา สุนทรธรรม ฝ่ายไทย ในปี 2565

สำหรับความร่วมมือดังกล่าว เพื่อศึกษาดาวคู่พิเศษจากฐานข้อมูลของ TESS ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์ดาวเทียมขององค์การนาซาร่วมกับ ข้อมูลสเปกตรัมจากกล้องโทรทัศน์ LAMOST ของ Xinglong Observatory ของจีน แล้วทำการติดตามสังเกตการณ์ด้วยกล้องภาคพื้นดิน เช่น จากกล้อง 2.4 เมตร กล้อง 1 เมตร ของไทย ร่วมกับข้อมูลจากกล้องของจีน เช่น จากกล้อง GMG 0.7 เมตร ณ หอดูดาวเกาเหมยกู่เขตลี่เจียง กล้อง 0.6 เมตร และ 1 เมตร ของหอดูดาวยูนาน เขตคุนหมิง โดยมีผลงาน วิจัยตีพิมพ์ ในวารสารนานาชาติ ร่วมกัน 4 เรื่อง เช่น ใน PASJ, RAA และ New Astronomy เป็นต้น

(2) โครงการพัฒนาดาวเทียมวิจัยวิทยาศาสตร์ TSC-Pathfinder เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง Changchun Institute of Optics, Fine Mechanics and Physics (CIOMP), CAS และ สดร. เพื่อพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านวิศวกรรมขึ้นสูง โดย สดร. ได้ส่งวิศวกร จำนวน 3 คน เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิจัย เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจโลกกับคณะวิศวกรและผู้เชี่ยวชาญของ CIOMP ณ มณฑลฉางชุน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ปัจจุบันประกอบดาวเทียม TSC-P แล้วเสร็จในระดับต้นแบบวิศวกรรม ( Engineering Model ) แล้วดาวเทียมขนาดเล็ก น้ำหนัก ~80 กก.วงโคจรต่ำ ความสูง ~500 กม.ภารกิจหลักทำหน้าที่สำรวจพื้นผิวโลก คาดว่าจะส่งขึ้นสู่วงโคจรราวปลายปี ค.ศ.2025

ผู้สื่อข่าวถามว่า อยากให้เล่าถึงพระอัจฉริยะภาพด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ให้ข้อมูลว่า พระองค์ทรงสนพระทัยในการเรียนรู้และศึกษาความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตลอดเวลาทั้งจากวารสารวิชาการ การเข้าร่วมประชุมวิชาการและการเสด็จเยือนสถาบันด้านวัตกรรมสำคัญทั้งในและนอกประเทศ ทรงซักถามผู้เชี่ยวชาญและบันทึกในสมุดของพระองค์ท่านแบบนักวิชาการอย่างแท้จริง พระอัจฉริยะภาพที่สำคัญอย่างยิ่งคือพระปรีชาสามารถในการสร้างสัมพันธไมตรีกับนานาชาติ นำนักวิจัยไทยเข้าร่วมโครงการต่างๆทั้งที่สาธารณรัฐประชาชนจีนดังกล่าวมานี้และประทศอื่นๆในยุโรป

ผู้สื่อข่าวถามว่าจากแนวพระราชดำริให้ศึกษาแนวทางความร่วมมือโครงการต่าง ๆ ได้ช่วยส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรไทยอย่างไรบ้าง

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ให้ข้อมูลว่า นอกจากโครงการนักเรียนทุนกพ.ไปศึกษาที่ UCASหรือทุนระดับปรัญญาโทที่มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง แล้วยังมีโครงการส่งนักเรียนไปศึกษาต่างประเทศในโครงการอื่น ๆ แต่ที่อยากเน้นคือโครงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชดำริฯ ทั้งหลายจะนำมาซึ่ง“การพัฒนากำลังคน” ที่แฝงอยู่ในแต่ละโครงการด้วย นักวิจัยที่ร่วมโครงการ เช่น จูโน ขั้วโลก ดาวคู่ดาวเทียม มีนักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกที่ลงทะเบียนกับมหาวิทยาลัยไทยทำงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาที่เข้าร่วมโครงการเหล่านั้น นับเป็นการสร้างบุคคลากรไทยที่ทัดเทียมกับต่างประเทศ