สื่อไทย: อุตสาหกรรมผลไม้จีน-ไทยแบ่งปันความสำเร็จของ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกัน

lmcchina.org, November 2, 2022
Size:

ตามรายงานข่าวจากเว็บไซต์บางกอกโพสต์ไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ สัมมนาการพัฒนาและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมผลไม้ไทย-จีนจัดขึ้นที่เมืองจ้านเจียง มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ผู้แทนทั้งสองประเทศร่วมหารือเจรจากันในหัวข้อโอกาสและความท้าทายในความร่วมมืออุตสาหกรรมผลไม้ระหว่างไทย-จีนในปัจจุบัน ผ่านวิธีออนไลน์และออฟไลน์ โดยระบุว่าจะส่งเสริมความร่วมมืออุตสาหกรรมผลไม้ไทย-จีนให้แบ่งปันความสำเร็จของการก่อสร้าง“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกัน

นายธาวิน ปฐพีไพรสณฑ์ ประธานสมาคมการค้าอินเตอร์อุตสาหกรรมร่วมมิตรไทย-จีนกล่าวว่า“หลายปีมานี้ การค้าทวิภาคีระหว่างไทยกับจีน โดยเฉพาะยอดมูลค่าการส่งออกไปจีนของไทยทวนกระแสเติบโตขึ้นในช่วงโควิด-19 ไทยขยายขนาดการส่งออกผลไม้ไปจีนอย่างต่อเนื่อง จนได้รับผลโดดเด่นที่น่าจับตามอง ด้วยการเปิดเดินรถไฟจีน-ลาวและการสร้างสรรค์รถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย การเชื่อมโยงกันในด้านโครงสร้างพื้นฐานจะอำนวยช่องทางใหม่ที่สะดวกมากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นให้กับการขนส่งผลไม้สดของไทย และเปิดตลาดที่กว้างขวางมากขึ้นให้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมผลไม้ไทย การส่งเสริมการให้บริการรถไฟจีน-ลาวและการสร้างสรรค์รถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยนั้นเป็นความปรารถนาร่วมกันของรัฐบาลและแวดวงอุตสาหกรรมทั้งสองประเทศ”

นายสัญชัย ปุรณะชัยคีรี นายกสมาคมผู้ค้าและส่งออกผลไม้ไทยกล่าวว่า“นักธุรกิจไทยในวงการส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายจีน มีภูมิหลังวัฒนธรรมที่คล้ายกับนักธุรกิจจีน ซึ่งทั้งสองประเทศล้วนให้ความสำคัญต่อมิตรภาพอย่างยิ่ง จึงสามารถร่วมมือกันและแลกเปลี่ยนกันอย่างราบรื่น”

นายหวง หวาปิน รองผู้อำนวยการสำนักสำนักงานพาณิชย์เมืองจ้านเจียง ได้แสดงความต้อนรับต่อผู้ประกอบการไทยอย่างอบอุ่น และแนะนำว่า จีนพัฒนาข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการก่อสร้างโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าอย่างต่อเนื่อง สร้างข้อได้เปรียบใหม่ในความร่วมมือและการแข่งขันระหว่างประเทศด้วยการเปิดประเทศระดับสูง นอกจากนี้ยังชี้แนะวิสาหกิจในการส่งเสริมการปรับปรุงระดับการพัฒนาการค้าและการลงทุน ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ

ผู้ประกอบการไทยเชิญชวนผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจีนไปเยี่ยมชมสวนปลูกผลไม้และพืชพันธุ์ เพื่อร่วมมือในด้านเทคโนโลยีแบบทวิภาคี ผู้ร่วมงานหลายท่านกล่าวว่ายินดีที่มีส่วนร่วมในการกระชับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาล วงการธุรกิจ และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ทั้งสองประเทศ และร่วมผลักดันการพัฒนา“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” และการก่อสร้างรถไฟจีน-ลาว-ไทย เพื่อทำให้สองประเทศมีการเชื่อมโยงกันมากขึ้น และประชาชนไทย-จีนไปมาหาสู่กันแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น