การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจีน - ไทยช่วยขับเคลื่อนการเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค

Yunnan Gateway, October 14, 2022
Size:

จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ที่นี่เป็น“ประตู” สู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และยังเป็นจุดหมายปลายทางของโครงการความร่วมมือรถไฟจีน - ไทย ระยะที่ 1 และไม่แน่ว่าในอนาคตที่นี่อาจจะกลายเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงโครงข่ายของรถไฟจีน – ลาว - ไทยที่ครอบคลุมระดับภูมิภาคอีกด้วย

ณ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่จัดตั้งสถานีควบคุมโครงการรถไฟจีน – ไทย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่ก่อสร้างทางรถไฟไม่มากนัก โดยมีบริษัทไชนาเรลเวย์ดีไซน์กรุ๊ปจำกัด เป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบและควบคุมการก่อสร้างระยะแรกของโครงการรถไฟจีน - ไทย และที่นี่คุณสามารถพบเห็นคุณนันทพงศ์ วัย 24 ปี ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามได้อยู่บ่อยครั้ง

คุณนันทพงศ์รู้สึกว่าตัวเองโชคดี เพราะเขาได้รับทุนการศึกษาโครงการ“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” และได้มีโอกาสเรียนต่อในด้านเทคนิคการบำรุงรักษารถไฟในวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาการรถไฟเทียนจิน หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี 2562 เขาก็ได้เข้าทำงานในโครงการก่อสร้างรถไฟจีน - ไทย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จตามความฝันที่เขาได้วาดหวังไว้

 ในฐานะที่เป็นโครงการสำคัญของข้อริเริ่ม“หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ที่จีน - ไทยร่วมกันสร้าง และยังเป็นรถไฟความเร็วสูงมาตรฐานแห่งแรกของไทย รถไฟจีน - ไทยได้รับการออกแบบและการก่อสร้างตามมาตรฐานของจีน โดยการก่อสร้างระยะแรกเชื่อมต่อกรุงเทพ ฯ และจังหวัดนครราชสีมา ส่วนระยะที่สองจะขยายต่อไปถึงจังหวัดหนองคาย ซึ่งเป็นเมืองชายแดนที่สำคัญด้านการค้าทางภาคอีสาน อีกทั้งอยู่ห่างจากเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงของประเทศลาวเพียงแม่น้ำขวางกั้น ที่นี่จะเป็นจุดบรรจบและเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน - ลาว ซึ่งสามารถเข้าถึงเมืองคุนหมิงได้โดยผ่านเมืองบ่อเต็นของลาว และโมฮั่นของจีน

จากการสัมภาษณ์คนไทยต่างมีความเห็นว่า พวกเขาหวังให้โครงการก่อสร้างทางรถไฟจีน -ไทยเสร็จสิ้นในเร็ววัน และปรับสภาพโครงสร้างพื้นฐานการรถไฟของไทยให้ดีขึ้น ในปี พ.ศ. 2564 เส้นทางรถไฟในประเทศไทยมีระยะทางรวมเพียง 5,000 กว่ากิโลเมตร และส่วนใหญ่เป็นรางเดี่ยว อีกทั้งอุปกรณ์ที่ล้าสมัยในระบบการขนส่งทางรถไฟ ความเร็วของรถไฟช้า ความสามารถในการขนส่งต่ำ และอัตราความล่าช้าค่อนข้างสูง ดังนั้น พวกเขาจึงคาดหวังที่จะเร่งยกระดับศักยภาพการก่อสร้างทางรถไฟของไทยให้เร็วขึ้น

เวยหลัว รองหัวหน้ากลุ่มการกำกับดูแลกลุ่มที่ 4 ของฝ่ายโครงการรถไฟจีน - ไทย วัย 59 ปี สำหรับเขาแล้ว การสร้างทางรถไฟไม่ได้เป็นแค่เพียงงานก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังเป็นกระบวนการของการสื่อสารความคิดกับประชาชน เวยหลัวทำงานด้านการกำกับดูแลมาตลอด 35 ปี เขากล่าวว่า“ผมไม่เคยสัมผัสโครงการก่อสร้างที่มีรายะเอียดเยอะขนาดนี้มาก่อน ฝ่ายจีนได้ส่งพนักงานที่มีประสบการณ์มาช่วยในการกำกับดูแล เราได้เรียนรู้ประสบการณ์อันทรงคุณค่า ไม่เพียงแต่ประสบการณ์การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ยังได้ประสบการณ์ด้านการบริหารโครงการอีกด้วย”