ร่วมแบ่งปันโอกาสการเปิดกว้าง ร่วมเปิดหน้าใหม่แห่งการประสานมือ——นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย

lmcchina.org, January 13, 2022
Size:

“ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค” (RCEP) โดยมีสมาชิก 15 ประเทศรวมทั้งจีน ประเทศอาเซียนและอื่น ๆ เริ่มมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ จะเพิ่มพลวัตให้แก่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภูมิภาคและสังคมโลก และเป็นการสร้างโอกาสใหม่สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-อาเซียน

หลายปีมานี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจโลกยากที่จะฟื้นตัว การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศเกิดความผันผวน ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกได้รับผลกระทบรุนแรง ในช่วงเวลาสำคัญนี้ จีนกับประเทศในภูมิภาคนี้ร่วมแรงร่วมใจกัน ยกระดับกติกาการค้าและการลงทุนในภูมิภาคนี้ได้และทำให้กติกาสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลักดันให้ RCEP มีผลบังคับใช้ซึ่งเป็นความตกลงรอบด้าน ที่ทันสมัย มีคุณภาพและเอื้อประโยชน์ต่อกัน มีประโยชน์สำคัญยิ่งในการผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก

จีนกับอาเซียนร่วมือกันก้าวไปข้างหน้าโดยตลอด นำร่องสร้างสรรค์เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน พัฒนา“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ร่วมกันอย่างมีคุณภาพ และร่วมนำร่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก และส่งเสริมการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค พร้อมกับความร่วมมือในเชิงลึก RCEP จะช่วยส่งเสริมจีนและประเทศอาเซียนใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของกันและกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ส่งเสริมให้ห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่มูลค่าผสมผสานอย่างลึกซึ้ง ขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนโดยรวมของภูมิภาค และสร้างประโยชน์แท้จริงแก่ทั้งประชาชนจีนและประชาชนในประเทศอาเซียน

จีนและไทยต่างส่งเสริมการค้าเสรีและสนับสนุนความร่วมมือในภูมิภาค RCEP ทำให้เกิดโอกาสใหม่สำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และจะส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างจีน-ไทยก้าวสู่ขั้นใหม่ จีนเป็นประเทศคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไทยติดต่อกันมา 9 ปี ใน ค.ศ. 2021 มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศทะลุหนึ่งแสนล้านดอลลาร์สหรัฐทั้งๆที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วิสาหกิจจีนทางด้านอีคอมเมิร์ซ โทรคมนาคม ยานยนต์ และเซลล์แสงอาทิตย์ได้มาลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย ขณะเดียวกันสินค้าเกษตร ยางพารา และผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยได้รับความนิยมในตลาดจีน หลังจาก RCEP มีผลบังคับใช้ จีนและไทยจะเปิดตลาดมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ประมง การผลิตกระดาษ ชิ้นส่วนรถยนต์ และโลหะ ในที่สุดรายการสินค้ากว่า 90% จะลดภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ สร้างพันธะผูกพันที่มีคุณภาพต่อบัญชีรายการที่ไม่เปิดเสรีด้านการลงทุน (Negative List) ในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ภาคบริการ เช่น การเกษตรและการผลิต จะดึงดูดผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุนและสร้างโรงงานในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น จะทำให้การวางแผนและนโยบายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนระหว่างกันสมบูณ์ยิ่งขึ้น ข้อกำหนดเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซและทรัพย์สินทางปัญญาใน RCEP จะช่วยอำนวยความสะดวกต่อความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซข้ามชาติและเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีนไทย ส่งเสริมการหมุนเวียนของทรัพยากรด้านนวัตกรรมระหว่างสองประเทศ และร่วมกันจับโอกาสใหม่ในยุคดิจิทัล