​ทั้ง 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงสนับสนุนการสร้างศูนย์วิจัยความปลอดภัยทางชีวภาพการเกษตรร่วมกัน

lmcchina.org, October 14, 2021
Size:

เมื่อวันที่ 28-29 กันยายน ในที่สัมมนานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรเอเชียใต้-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 5 สถาบันวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งมณฑลยูนนานเสนอให้ก่อตั้ง“ศูนย์วิจัยความปลอดภัยทางชีวภาพการเกษตรลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” และได้รับการสนับสนุนและตอบสนองอย่างคึกคักจากผู้เชี่ยวชาญที่ร่วมงานทุกท่าน

ปัจจุบัน ทั้ง 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงการรุกรานและความเป็นภัยสูงของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทางการเกษตร และยากที่จะป้องกันควบคุมได้ การรุกรานและการแพร่หลายของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดสำคัญต่าง ๆ ก่อการคุกคามร้ายแรงต่อการผลิตทางการเกษตรและความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น สาบหมา สาบเสือ ขี้ไก่ย่าน และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เป็นต้น ช่วงหลายปีมานี้ ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นใหม่หลากหลายชนิดนับเป็นเครื่องเตือนภัยให้เราตระหนักถึงความรุนแรงแห่งการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เช่น พืชพาร์เธเนียม หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ ไส้เดือนฝอยทอง เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางชีวภาพที่เกิดจากการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นชนิดสำคัญต่าง ๆ นั้น ต้องการประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ร่วมมือกันสร้างสรรค์เวทีประสานงานป้องกันควบคุม กลไกป้องกันควบคุม และระบบสนับสนุนนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในที่ประชุม สมาชิก“ทีมงานปกป้องพืชพรรณจีน-เอเชียใต้-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่มาจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้ง 6 ประเทศได้ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ ภูมิหลัง และปัญหาเด่นของการรุกรานเผยแพร่ของชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทางการเกษตร มีมติว่าจะร่วมมือกันดำเนินการตรวจ เตือนภัยล่วงหน้า การศึกษาวิจัยวิธีการป้องกันควบคุม และร่วมมือกันสร้างเวทีศึกษาร่วมกัน และนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี โดยมุ่งที่จะยกระดับขีดความสามารถในการป้องกัน การเตือนภัยล่วงหน้า และการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างเต็มกำลงด้วยการสร้างฐานข้อมูลและเวทีตรวจ นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ยังควรสร้างเขตตรวจป้องกันควบคุม ศึกษาระบบการจัดการเตือนภัยล่วงหน้ากับเทคโนโลยีการป้องกันควบคุมเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะให้การสนับสนุนทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแก่การส่งเสริมการป้องกันและควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นทางการเกษตรร่วมกัน