ว่าด้วยความร่วมมือด้านแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

lmcchina.org, March 10, 2021
Size:

การแนะนำโดยสังเขป

ความร่วมมือด้านแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (ต่อไปเรียกชื่อย่อว่า LMC) เป็นเวทีความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่ที่จีนกับ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมก่อตั้งขึ้น มุ่งที่จะส่งเสริมความร่วมมือฉันมิตรระหว่าง 6 ประเทศ ผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมระดับภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างกัน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซี่ยนและภายในภูมิภาค สร้างคุณูปการให้กับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ.2030 ที่สหประชาชาติตั้งเป้าไว้ และผลักดันความร่วมมือระหว่างเซาท์ – เซาท์คอปเปอร์เรชั่นให้พัฒนาไป ทั้งนี้ ทั้ง 6 ประเทศจะร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน  และเพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือ LMC ให้เป็น“แบรนด์เนม” ของประชาคมเอเชียซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน อีกทั้งเป็นเวทีสำคัญของการสร้างสรรค์โครงการ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”

【บริบทความร่วมมือ】

ลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพการพัฒนาสูงสุดแห่งหนึ่งในเอเชียตลอดจนทั่วโลก มหานทีสายเดียวแต่มีชื่อสองชื่อนี้ เป็นแม่น้ำนานาชาติสายสำคัญในคาบสมุทรอินโดจีน แม่น้ำสายนี้มีแหล่งกำเนิดจากที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มีต้นน้ำอยู่ที่เมืองอฺวี้ซู่ มณฑลชิงไห่ แม่น้ำช่วงที่อยู่ในจีนเรียกว่าแม่น้ำล้านช้าง เมื่อไหลผ่านมณฑลหยุนหนันเข้าสู่อีก 5 ประเทศ เรียกว่าแม่น้ำโขง ไหลผ่านเมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม มีความยาวทั้งหมด 4880 กิโลเมตร ตลอดลุ่มแม่น้ำมีอาณาบริเวณทั้งหมด 7.95 แสนตารางกิโลเมตร  มีประชากรทั้งหมด 326 ล้านคน 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงรวมแล้วมีประชากรประมาณ 230 ล้านคน  ยอดมูลค่า GDP กว่า 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ  เฉลี่ยแล้วมีการขยายตัวสูงถึง 7% ต่อปี  ทั้ง 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีภูมิประเทศที่เชื่อมติดต่อกันและมีความคล้ายคลึงกันทางด้านวัฒนธรรม มีความสัมพันธ์ฉันมิตรมาเป็นเวลาช้านาน  มีผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางด้านเสถียรภาพและการพัฒนา

【พัฒนาการด้านความร่วมมือ】

เมื่อค.ศ. 2012 ประเทศไทยเป็นฝ่ายเสนอข้อริเริ่ม“การพัฒนาอย่างยั่งยืนของอนุภูมิภาคแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง” ซึ่งได้รับการสนองตอบจากฝ่ายจีนอย่างแข็งขัน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.2014 หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้เสนอกลไกการสนทนาแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ณ การประชุมผู้นำจีน-อาเซี่ยนครั้งที่ 17 ได้รับการตอบสนองอย่างกระตือรือร้นจาก 5 ประเทศลุ่มแม่โขง เมื่อวันที่ 23 เดือนมีนาคม ค.ศ. 2016 การประชุมผู้นำ LMC ครั้งแรก จัดขึ้นที่เมืองซานญ่ามณฑลไห่หนันของจีน นายกรัฐมนตรีจีนหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีไทยประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกัมพูชาฮุนเซน นายกรัฐมนตรีลาวทองลุน รองประธานาธิบดีเมียนมาสายหมอกคำและรองนายกรัฐมนตรีเวียดนามฝ่าม บิ่งห์มิงห์ ได้เข้าร่วมประชุม การประชุมครั้งนี้มีหัวข้อว่า“ร่วมดื่มน้ำนทีเดียวกัน  ผูกชะตาสัมพันธ์แน่นแฟ้น” ได้ประกาศ“แถลงการร่วม“ปฏิญญาซานญ่าแห่งการประชุมผู้นำ LMC เป็นครั้งแรก เพื่อสร้างสรรค์ประชาคม ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน มุ่งสู่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง” อันเป็นการบ่งบอกถึง LMC ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ

【จุดมุ่งหมาย】

ความร่วมมือ LMC มุ่งที่จะพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง สร้างความผาสุกแก่ประชากรทุกประเทศในภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำการพัฒนาระหว่างประเทศ สนับสนุนการร่วมมือกันสร้างสรรค์ประชาคมอาเซี่ยน ผลักดันและดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติที่ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ. 2030 อย่างเป็นรูปธรรม  ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเซาท์ – เซาท์คอปเปอร์เรชั่น กลไกความร่วมมือ LMC จะดำเนินงานภายใต้กรอบที่“มีผู้นำเป็นผู้นำร่อง ครอบคลุมทั่วทุกด้าน มีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วม” มุ่งที่จะสร้างสรรค์ประชาคมประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน มุ่งสู่สันติภาพและเจริญรุ่งเรือง สร้างแบบอย่างที่ดีแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ให้ความร่วมมือกันและได้รับชัยชนะร่วมกัน

【เอกลักษณ์แห่งความร่วมมือ】

เอกลักษณ์แห่งความร่วมมือของ LMC คือ ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพสูง ถือโครงการเป็นหลักพื้นฐาน นับแต่กรอบความร่วมมือ LMC ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2016  ก็มีความคืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึง“ขีดความเร็วของ LMC” และ“ประสิทธิภาพของ LMC” ได้บ่มเพาะวัฒนธรรมที่“มีความเสมอภาค เกื้อกูลกันด้วยใจจริง  สนิทแน่นแฟ้นฉันพี่น้อง” ของ LMC 

【ความคืบหน้า】

LMC มีกรอบความร่วมมือในระดับต่างๆ เช่น การประชุมระดับผู้นำประเทศ การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงและการประชุมคณะทำงานสาขาต่างๆ เป็นต้น ยึดมั่นในหลัก“กรอบความร่วมมือ 3+5” ซึ่งหมายถึง ถือเอาความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  สังคมวัฒนธรรมเป็น 3 เสาหลัก ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ การส่งเสริมความเชื่อมโยง กำลังการผลิต เศรษฐกิจข้ามพรมแดน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการลดความยากจน จนถึงทุกวันนี้ ความร่วมมือ LMC ได้จัดประชุมผู้นำระดับชาติ 1 ครั้ง ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ 2 ครั้ง ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง 5 ครั้งและประชุมคณะทำงานทางการต่างประเทศ 6 ครั้ง คณะทำงาน 5 สาขาดังกล่าวก็ได้ก่อตั้งขึ้นและเริ่มดำเนินงาน กระทรวงต่างประเทศของทั้ง 6 ประเทศต่างก็จัดตั้งสำนักงานเลขานุการ LMC หรือองค์กรประสานงานขึ้น เป็นต้นว่า ศูนย์ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ศูนย์ความร่วมมือปฏิบัติงานตามกฏหมายเพื่อความมั่นคงลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงและศูนย์ความร่วมมืออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงก็ได้จัดตั้งขึ้นตามลำดับ

เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือ 3+5

หลังการประชุมผู้นำความร่วมมือ LMC เป็นต้นมา ทั้ง 6 ประเทศได้จัดกลไกความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ยึด 3 เสาหลักคือความมั่นคงทางการเมือง เศรษฐกิจ การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสังคมวัฒนธรรมเป็นที่ตั้ง ครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ ส่งเสริมการเชื่อมโยง  พลังการผลิต  เศรษฐกิจข้ามพรมแดน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การเกษตรและการลดความยากจน อันเป็นการปูพื้นฐานแก่ความร่วมมือในระยะยาวอย่างมั่นคง กลไกความร่วมมือนี้เรียกว่า“กรอบความร่วมมือ 3+5”

แนะนำสำนักงานเลขานุการ LMC จีนโดยสังเขป

วันที่ 10 เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 สำนักงานเลขานุการความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงจีน (ต่อไปเรียกย่อว่า สำนักงานเลขานุการ LMC จีน) ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เป็นองค์กรประสานงาน  LMC ของจีนกับ 5 ประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวง

การต่างประเทศจีน รับผิดชอบด้านการวางแผน ประสานงาน ดำเนินการและประชาสัมพันธ์ ซึ่งก็คือวางแผนสร้างกลไกความร่วมมือและประสานงานอย่างเป็นรูปธรรมกับหน่วยงานต่างๆและรัฐบาลท้องถิ่นของจีนที่ร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง จัดการดูแลกองทุนเฉพาะLMCผลักดันโครงการต่างๆให้ดำเนินไปด้วยดี ประชาสัมพันธ์และขยายผลของกลไก LMC ออกไปเรื่อยๆ  สำนักงานเลขานุการของจีนได้แสดงบทบาทสำคัญหลังการก่อตั้งขึ้นอย่างแข็งขัน ได้เข้าร่วมและส่งเสริมการดำเนินงานภายใต้กรอบดังกล่าวหลากหลายโครงการ

วันที่ 12 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 ฝ่ายประสานงานหยุนหนันของสำนักงานเลขานุการ LMC ก่อตั้งขึ้น สังกัดกรมวิเทศสัมพันธ์ มณฑลหยุนหนัน เป็นองค์กรประสานงานระดับท้องถิ่นแห่งแรกของ 6 ประเทศ ทำหน้าที่ประสานงาน LMC ของมณฑลหยุนหนัน ซึ่งเข้าร่วมโครงการนี้

สำนักงานเลขานุการ LMC จีนมีเว็บไซต์ทางการและ WeChat Official Account

ติดต่อเราได้ที่

สำนักงานเลขานุการ LMC จีน

Lancang-Mekong Cooperation China Secretariat

ที่อยู่  เลขที่ 2 ถนนเฉาหยังเหมิน หนันต้าเจีย เขตเฉาหยัง กรุงปักกิ่ง

TEL:0086-10-65964129

Email:lmc-china@mfa.gov.cn